SLE

1505 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคภูมิแพ้

     ปัจจุบัน โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ได้แก่ โรคแพ้นมวัว หรือโรคผื่น ภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น และในวัยเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ได้แก่ โรคแพ้อากาศ  โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว โรคหืด หรือโรคแพ้อาหารทะเล เป็นต้น โรคแพ้อากาศ เป็น โรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด อุบัติการณ์ของโรคนี้ในเด็กไทยพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในขณะที่โรคหืด และ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง พบได้โรคละประมาณร้อยละ 15

โรคภูมิแพ้คืออะไร

โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังที่เยื่อบุของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุตาขาว เยื่อบุทางเดินหายใจ หรือเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น สารก่อภูมิแพ้มี 2 ประเภท ได้แก่

1. สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสุนัข ขนแมว เกสรหญ้าหรือ เชื้อรา

2. สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล หรือ แป้งสาลี

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีอาการตามอวัยวะที่เกิดการอักเสบจาการกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ เช่น

ผิวหนัง จะทำให้เกิด โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการผื่นคันเรื้อรัง บริเวณใบหน้า ข้อพับ แขนขา หรือ ลำตัว เป็นต้น


เยื่อบุจมูก จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้อากาศ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกเรื้อรัง ร่วมกับอาการจาม คัน หรือ คัดจมูก

 
เยื่อบุตาขาว จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุตาขาวอักเสบ ภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการคัน  หรือ เคืองตาเรื้อรัง แสบตา หรือ น้ำตาไหลบ่อยๆ

 
เยื่อบุทางเดินหายใจ จะทำให้เกิด โรคหืด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หรือ หายใจได้ยินเสียงวี๊ดๆ


เยื่อบุทางเดินอาหาร จะทำให้เกิด โรคแพ้อาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วงเรื้อรัง อาเจียน น้ำหนักตัวลด ร่วมกับอาการผื่นเรื้อรัง และ ภาวะซีด


ทำไมถึงเป็นโรคภูมิแพ้

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคภูมิแพ้ แต่ปัจจัยต่อไปนี้อาจเกี่ยวข้อง กับการเกิดโรคภูมิแพ้ ได้แก่

1. ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มักมีประวัติบิดา หรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดเดียวกับที่บิดา หรือมารดาเป็น หรือไม่ได้แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกับที่บิดา หรือมารดาแพ้ได้ พบว่าผู้ป่วยที่บิดา หรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ 20-40 และ มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ 50-80 ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้

2. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ เป็นต้น รวมถึงวิถีชีวิตของประชากรที่เปลี่ยนจากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง ทำให้มารดาไม่สามารถให้นมบุตรได้ในช่วงแรกคลอด หรือความเร่งด่วนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้จำเป็นต้องรับประทานอาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป

ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทแป้งและไขมัน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ร้อยละ 15 ไม่ได้มีบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้


ภูมิแพ้ กับการดูแลสุขภาพด้วย เซซามินสารสกัดจากงาดำ

     ระบบต่างๆในร่างกายที่ทำให้เรามีชีวิตที่ปกติสุขอยู่ได้ที่สำคัญสำคัญมีด้วยกัน  3 ระบบคือ

     1) ระบบประสาท

     2) ระบบฮอร์โมนหรือต่อมไร้ท่อ

     3) ระบบภูมิคุ้มกัน


ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร

     ระบบภูมิคุ้มกัน (Immumity) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ และเนื้อเยื่อจำนวนมากมาย ทั่วร่างกาย มีการส่งสัญญาณในการใช้สื่อทางชีวเคมี เช่น ไซโตไคน์ (Cytokines) ชนิดต่างๆ และสาร histamine ทำไมทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ของร่างกายเอง กลไกของร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างสารที่เรียกว่า แอนติบอดี (Antibody)  ซึ่งเป็นการตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบสารของเหลว เรียกว่า humoral mediated immunity (HMI) อีกรูปแบบหนึ่งคือ การตอบสนองแบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ เรียกว่า  Cell mediated immunity (CMI) โดยการใช้ ไซโตไคน์ เป็นหลักแต่ทั้งสองระบบก็ทำงานเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมจากร่างกาย

การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากเกินไปที่มาของโรคภูมิแพ้

      อย่างไรก็ตามการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันนี้อาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นสองชนิด คือ

     1) มีการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่น้อยเกินไป หรือ ภูมิคุ้มกันต่ำหรือไม่มีเลยที่พบได้ในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง

     2) ความผิดปกติชนิดหนึ่งที่คือการตอบสนองภูมิคุ้มกันมากเกินไปเรียกว่า ภูมิไวเกิน หรือ ภูมิแพ้

 
4 ประเภทของโรคภูมิแพ้   

     โรคภูมิแพ้ คือการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ไม่เหมาะสมของร่างกาย ซึ่งอาจจะเกิดได้แบบสารเหลว และ แบบเซลล์ เช่น การแพ้ยา ถ้าเกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผิดปกติทั่วทั้งระบบของร่างกาย จะนำมาซึ่งการช็อก และเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายก็จะแสดงความผิดปกติออกมา ณ บริเวณนั้นนั้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่ผิดปกตินี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

 
     1. เมื่อผู้ป่วยสัมผัส หรือได้รับสารที่ทำให้เกิดแพ้ หรือ Allergen ร่างกายจะผลิตแอนตี้บอดี้ ชนิด IgE ไปจับสารแพ้นั้นและไปกระตุ้นเซลล์ที่เรียกว่า mast cell ให้มีการปล่อยสาร hista-mine ออกมาทำให้เกิดอาการต่างๆเกิดขึ้นทั่วร่างกายและแบบเฉพาะที่ เช่น การแพ้ยา แพ้ฝุ่นละอองจากฟางข้าว อาจทำให้เกิดการหอบหืดขึ้นได้ หรือการแพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล เป็นต้น

     2. คือโรคภูมิแพ้ที่มีการตอบสนองของแอนติบอดี้ ต่อสารแพ้ที่อยู่บนเซลล์ผิวหนัง โดยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเข้ามาทำปฏิกิริยาทำให้เซลล์แตกตัว เช่น การให้เลือดผิดหมู่หรือกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากันการแตกของเม็ดเลือดแดงของเด็กที่อยู่ในครรภ์ หรือ การเป็นโรคโลหิตจาง การที่มีเม็ดเลือดแดงแตกตัว (Hemolytic anemia)

     3. คือโรคภูมิแพ้ชนิดที่มีการจับกันของสารแพ้ และ แอนติบอดี้ ที่ร่างกายผลิตขึ้น เกิดเป็นสารชีวโมเลกุลเชิงซ้อนที่ไปกระตุ้นให้มีเม็ดเลือดขาวมาอยู่ในบริเวณเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น ที่หลอดเลือด ไต ก่อให้เกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง และ ทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ เรานั้นได้

     4. เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบเซลล์โดยที่เม็ดเลือดขาวได้ปล่อยสารต่างๆ เช่น ไซโตไคน์ ที่เป็นสารสื่ออักเสบ จำนวนมาก ทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังได้ เช่น การเป็นลมพิษ

     เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการภูมิแพ้ได้ด้วยการงด หรือ ป้องกันตัวเองจากสารแพ้ต่างๆ  เมื่อมีอาการแพ้เกิดขึ้นอาจเกิดอาการอักเสบตามมา 

     รวมทั้งการหายใจไม่ออกผื่นคันขึ้นตามตัว และเฉพาะที่จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดจากงาดำที่เรียกว่าสารเซซามิน สามารถช่วยยับยั้งการอักเสบได้โดยไปยับยั้งเอนไซม์ Delta-5 desa turase แล้วยังไปยับยั้งการออกฤทธิ์ของไคโตไคน์ ชนิด Interlekin-1 Beta อีกด้วย ดังนั้นอาหารเสริมครีมบำรุงผิวต่างๆที่มีส่วนผสมของเซซามิน สามารถนำไปใช้ดูแลเรื่องภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com