282 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคเบาหวาน
DAIBETES
รู้หรือไม่ 425 ล้านคนทั่วโลก เป็นผู้ป่วยเบาหวาน
ข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้รวบรวมสถิติผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกไว้ มีจำนวนถึง 425 ล้านคนทั่วโลก ที่ป่วยเป็นเบาหวาน โดยแบ่งเป็น 98 ล้านคน ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และอีก 327 ล้านคน มีอายุเพียง 20 - 64 ปี
(ข้อมูลสำรวจเมื่อปี 2018)
โดยตัวเลขสถิติดังกล่าว ได้แสดงแนวโน้มอัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้น ในช่วงปี 2588 ไว้ดังนี้ จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มเป็น 191 ล้านราย ในอายุ 65 ปีขึ้นไป และเพิ่มเป็น 438 ล้านราย ในช่วงอายุ 20-64 ปี
เรามองเห็นอะไรในตัวเลขนี้บ้าง
- อัตราการเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวานพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ไม่มีแนวโน้มลดลง
- ช่วงอายุผู้ป่วยเบาหวานที่กว้างขึ้น คนที่อายุน้อยก็เป็นเบาหวานได้
- ค่ารักษาพยาบาลการดูแลสุขภาพเรื่องเบาหวานเพิ่มขึ้น
- เป็นภัยเงียบที่เป็นต้นตอของอีกหลายโรคตามมา
- เราอาจจะเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน
- โลกนี้จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการแพทย์เพื่อการดูแลรักษามากขึ้น
- เราจะมีโอกาสและทางเลือกใหม่ๆ ในการดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น
- ฯลฯ
อย่ารอเวลาที่จะดูแลและปกป้องตัวเอง ให้ห่างไกลจากภัยเงียบ #เบาหวาน
8 สัญญาณเตือนเป็นเบาหวาน
เบาหวาน คือความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง หรือต่ำเกินไป โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ฮอร์โมนไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีผลต่อการทำลายหลอดเลือด และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้
เรารู้ได้อย่างไร ว่าเรามีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน ให้ดู 8 สัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้
1.น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
2.กระหายน้ำ หิวน้ำบ่อย
3.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง
4.สายตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน
5.เป็นแผลง่าย แผลหายยาก คันตามผิวหนัง
6.ชาปลายมือปลายเท้า
7.เบื่ออาหาร หิวบ่อย
8.ปัสสาวะกลางคืนบ่อย มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
เลี่ยงเบาหวาน ป้องกันตัวเอง หากไม่อยากทานยาไปตลอดชีวิต ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เลี่ยงการรับประทานอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด และหาเวลาออกกำลังกาย เพื่อลดไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ อาจต้องเสริมด้วยสารอาหารคุณค่าจากงานวิจัยที่ช่วยดูแลสุขภาพท่านและคนที่ท่านรัก
เป็น “เบาหวาน” ไม่มีเหงา
เขาชวนเพื่อน NCDs มาอยู่ด้วย
ไม่ได้เป็นเรื่องล้อเล่น แต่นี่คือเรื่องจริง
ข้อมูลทางการแพทย์ ได้แจ้งเตือนไว้ว่า ใครที่เป็นเบาหวาน มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย โรคแทรกซ้อนที่มากับเบาหวาน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล มีไขมันในเลือดสูง จนส่งผลกระทบต่อเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย เช่น
1.หลอดเลือดสมองตีบตัน
2.เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม
3.หลอดเลือดหัวใจ
4.โรคไตเสื่อม ไตวาย
5.แผลติดเชื้อที่เท้า
6.ความดันโลหิตสูง
7.โรคผิวหนัง
8.ปลายประสาทเสื่อม
9.โรคในช่องปาก
เพราะฉะนั้น เราควรดูแลสุขภาพตัวเอง ให้เลี่ยงเบาหวาน ด้วยการควบคุมเรื่องอาหารการกินและการใช้ชีวิตประจำวัน เน้นอาหารที่ดีกับสุขภาพ ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม และออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อลดไขมันเลว เลือกทานสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดูแลสุขภาพเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล
เมื่อตับอ่อนสำคัญ เราจึงควรดูแล
ตับอ่อนสำคัญ หมั่นดูแลให้แข็งแรง
ตับอ่อนพัง เสี่ยงเป็นเบาหวาน
หากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้ ทำให้น้ำตาลกลูโคสตกค้างในกระแสเลือดมากเกินไป นำไปสู่ภาวะเบาหวาน และนำสู่โรคเรื้อรังต่างๆ อีกหลายโรค
2 หน้าที่สำคัญของ “ตับอ่อน”
ตับอ่อน มีรูปร่างคล้ายตัวลูกอ๊อด อยู่ใต้ตับ ภายในช่องท้องส่วนบนพาดไปใต้กระเพาะ ทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ
1.สร้างน้ำย่อยหลายชนิด เพื่อใช้ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก โดยน้ำย่อยแต่ละชนิด ใช้ย่อยอาหารเฉพาะประเภท เช่น น้ำย่อยทริปซิน ใช้ย่อยอาหารประเภทโปรตีน น้ำย่อยไลเปส ใช้ย่อยอาหารประเภทไขมัน น้ำย่อยอะไมเลส ใช้ย่อยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
2.หน้าที่สร้างอินซูลินเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยกลุ่มเซลล์แลงเกอร์ฮาน เป็นเซลล์พิเศษในตับอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนกลูคากอน โดยเฉพาะ
แล้วอินซูลิน คืออะไร?
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก มีหน้าที่ช่วยเนื้อเยื่อในร่างกายจับเอาน้ำตาลในเลือดไปใช้ ส่วนกลูคากอนมีหน้าที่ตรงข้ามคือ กระตุ้นตับและเนื้อเยื่อให้ปล่อยน้ำตาลที่สะสมไว้ ออกไปสู่กระแสเลือดในยามที่ร่างกายขาดแคลนน้ำตาล เพราะฉะนั้น อินซูลิน ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง
ภาวะขาดอินซูลิน คืออะไร
หากอินซูลินมีน้อยหรือไม่มี การนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ร่างกายจะมีน้อย และน้ำตาลกลูโคสจะตกค้างในกระแสเลือดมากเกินไป เนื่องจากร่างกายจับเอาไปใช้ไม่ได้ และถูกขับออกไปทางปัสสาวะ และทำให้เกิดภาวะเบาหวาน
ภาวะดื้ออินซูลิน คืออะไร?
เกิดจากภาวะเซลล์ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน หรือตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมาน้อย โดยมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก ตับอ่อนทำงานหนักจนเกิดภาวะตับอ่อนอ่อนแอ ผลิตอินซูลินได้น้อยหรือไม่ผลิตเลย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เซลล์ดื้ออินซูลินคือ ความอ้วนและอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการใช้ยาบางชนิดต่อเนื่อง
ทำไงดี เมื่อไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
ไตรกลีเซอไรด์สูง (High Triglycerides) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นอนุภาคไขมันที่ตับสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
ซึ่งโดยปกติแล้วระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดควรจะไม่เกิน 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร พบว่าถ้าเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเสี่ยงต่อภาวะเกิดโรคหลอดเลือดต่างๆ เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หรือหัวใจขาดเลือดได้
ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ป้องกันได้จากการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตในประจำวัน ดังนี้
1.ลดทานหวาน
2.ลดทานมัน หรืออาหารจำพวกไขมันทรานต์สูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด
3.ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแฮลกอฮอล์มีทั้งแคลลอรี่และน้ำตาลที่ส่งผลต่อระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
5.ไม่สูบบุหรี่
6.ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
7.ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการลดไขมันเลวในร่างกาย
8.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ทานไขมันดีต่อสุขภาพ เช่น มะกอก ถั่ว น้ำมันปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3
9.เลือกทานอาหารที่มี EPA น้ำมันปลาทูน่า ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่าเบาใจ ถ้าต้องเสี่ยงเบาหวาน
ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เราต้องเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานนั้นมีอยู่หลายข้อ ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของพันธุกรรมที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึงเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันที่เรานั้นอาจไม่ทันได้ให้ความสำคัญ หรือหลงลืมไป มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง
•เรื่องของพันธุกรรม อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าคนที่มีครอบครัวสายตรง ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่ น้องที่เป็นท้องเดียวกันป่วยเป็นเบาหวาน เราที่เป็นรุ่นต่อมาก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้สูงกว่าคนทั่วๆ ไป
• ผู้ที่เป็นโรคอ้วนและมีน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน
• ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากว่าการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งยังช่วยให้เซลล์ต่างๆ ไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ รวมถึงยังช่วยในเรื่องของการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย
•เรื่องของเชื้อชาติ ทั้งนี้มีข้อมูลพบว่าคนบางเชื้อชาติเป็นเบาหวานสูงกว่าคนในชาติอื่นๆ อาทิ ในคนเอเชียและคนผิวดำมีโอกาสที่จะป่วยเป็นเบาหวานได้มากกว่าคนชาติอื่นๆ
•เรื่องของอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นั่นอาจมาจากระบบการทำงานของเซลล์ตับอ่อนเสื่อมถอยและทำงานไม่สมดุล
•ไขมันในเลือดและความดันโลหิตสูง จากพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น หวาน มัน เค็ม มีไขมันสูง ซึ่งก่อเกิดภาวะโรคกลุ่ม NCDs ตามมา
เพราะฉะนั้น เราอย่าชะล่าใจว่า จะไม่เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อภาวะเบาหวาน ควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพเรา และคนที่เรารักให้ปลอดภัย และมีสุขภาพแข็งแรง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเลือกทานสารอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกายและช่วยดูแลสุขภาพเฉพาะด้านการดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล
4 วิธีลดน้ำตาลในเลือด
1. ลดและเลือกทานแป้ง
ลดการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตลงแล้ว โดยการเลือกทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดีต่อร่างกาย เช่น เปลี่ยนจากข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสี เลือกทานขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังธัญพืชแทนขนมปังขัดขาว แต่ทั้งนี้ควรจำกัดปริมาณการรับประทานให้เหมาะสมด้วยนะคะ
2. ทานผักใบเขียว
ไฟเบอร์จากผักจะช่วยชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งจากอาหารที่เราทานเข้าไป ทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดจะเป็นไปอย่างช้า ดังนั้นหากไม่อยากให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งปรี๊ดจนเป็นอันตราย พยายามกินผักให้มาก ๆ นะคะ โดยเฉพาะผักที่มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ เช่น ผักบุ้ง ผักใบเขียวทุกชนิด หน่อไม่ฝรั่ง มะเขือเทศ เมล็ดฟักทอง ข้าวโอ๊ต ซึ่งก็จะช่วยลดระดับไขมันเลวในร่างกาย ลดไตรกลีเซอไรด์ อันเป็นปัจจัยกระตุ้นโรคเบาหวานได้ด้วย
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายจะช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน และยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดจึงลดลงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ทานสารสกัดขมิ้นชัน
เลือกทานผลิตภัณฑ์อาหารจากธรรมชาติ ที่มีความปลอดภัยสูง ที่รวม 3 คุณค่างานวิจัย อาทิ น้ำมันปลาทูน่า สารสกัดขมิ้นชัน และวิตามินดี 3 ที่ฟื้นฟูการทำงานของตับอ่อนและกระตุ้นการทำงานของเบต้าเซลล์ ให้สามารถผลิตอินซูลินในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดให้สมดุล